MusicPlaylistView Profile
Create a playlist at MixPod.com

วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทเรียนมาบตาพุด การพัฒนาอุตสาหกรรมบนสิทธิชุมชน

 

วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4171  ประชาชาติธุรกิจ


บทเรียนมาบตาพุด การพัฒนาอุตสาหกรรมบนสิทธิชุมชน





ตลอด ปี 2552 ประเด็นปัญหาด้านเศรษฐกิจที่เป็นกระแสสร้างความวิตกกังวลให้กับภาครัฐและ เอกชนมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของมาบตาพุด หลังจากที่ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ "ระงับ" การดำเนินการ 76 โครงการที่มีมูลค่ารวมกว่า 400,000 ล้านบาท

ทว่าปัญหาของมาบตาพุด ไม่ได้เพิ่งเกิดมาเมื่อ 1-2 ปีนี้ แต่เป็นปัญหาที่ถูกสะสมกันมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในปี 2531 พื้นที่แนวกันชน ที่เคยถูกกำหนดไว้ในผังเมือง โรงงาน และบ้านพักอาศัยชุมชน ต้องห่างกันไม่ต่ำกว่า 1 กิโลเมตร แต่กลับมีการรุกล้ำพื้นที่ของทั้งฝ่ายเอกชนและชาวบ้าน จนปัจจุบันทำให้พื้นที่โรงงานและบ้านพักอาศัยชาวบ้านอยู่ติดกันแค่รั้วกั้น

ความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่ายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเสียหายจึงเกิดขึ้นกับชาวบ้านทั้งสุขภาพอนามัยและอาชีพประมง ขณะที่โรงงานเอกชนมักตกเป็นจำเลย เป็นต้นเหตุของปัญหา แต่ก็ไม่เคยมีการ "ยอมรับ" แต่ตั้งท่าปฏิเสธกันมาโดยตลอด

กลุ่มชาวบ้านชุมชนในพื้นที่ มองเห็นว่า ในพื้นที่มาบตาพุดมีทั้งขยายกำลังการผลิตการก่อสร้างโรงงานใหม่ จนถึงปัจจุบันมีจำนวนโรงงานอยู่ไม่ต่ำกว่า 300 โรง ซึ่งไม่เพียงแต่เนื้อที่เท่านั้น แต่ศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับ การปล่อยมลพิษ (Carrying Capacity) ก็แทบจะเต็ม ไม่สามารถรองรับการขยายกำลังผลิตของโรงงานต่อไปได้อีก

ชาวบ้านจึง ไม่อยากให้มีการอนุมัติก่อสร้างโรงงานในพื้นที่อีก พร้อมเรียกร้องให้ภาครัฐประกาศพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตควบคุมมลพิษ ให้มีการจัดสรรงบประมาณ ให้อำนาจท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการแผนควบคุมมลพิษในพื้นที่อย่างเข้ม งวด

การเรียกร้องดังกล่าวชัดเจนมากขึ้น ในปี 2549 ในช่วงเวลาที่ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ นั่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีการมองว่า พื้นที่มาบตาพุดถือเป็นหัวใจการลงทุนของประเทศไทย ดังนั้นการประกาศเขตควบคุมมลพิษจึงอาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่นการลงทุนของประเทศได้ ผลจึงออกมาในรูปของแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษที่ภาครัฐจัดสรรงบประมาณร่วมกับ การลงขันเอกชนในการ ลดการปล่อยมลพิษในพื้นที่ โดยใช้หลักเกณฑ์ 80 : 20

กล่าว คือ หากโครงการใดที่มีความประสงค์ก่อสร้างโครงการใหม่หรือขยายโครงการจะต้องมี แผนลดการปล่อยมลพิษของโครงการเดิมลงให้ได้ 20% โดยปริมาณมลพิษที่ลดได้นั้น 80% ให้นำไปขยายโครงการ ส่วนอีก 20% จะต้องคืนให้กับทางการ

ยก ตัวอย่างเช่น บริษัท B ต้องการขยายการผลิตในพื้นที่จังหวัดระยองก็จะต้องหาจับคู่กับบริษัท A ซึ่งมีโรงงานเดิมตั้งอยู่ หากเดิมบริษัท A ปล่อยมลพิษอยู่ในระดับ 100 ตามมาตรฐาน ก็จะต้องจัดทำแผนการลดมลพิษ 20% ให้เหลือการปล่อยมลพิษอยู่ในระดับ 80 ซึ่งส่วนที่ลดได้ 20 นั้น บริษัท B สามารถนำมาขยายการผลิตได้ โดยกำหนดว่าจะปล่อยมลพิษได้เพียง 16 เท่านั้น ส่วนอีก 4 จะต้องส่งคืนให้กับทางการ เป็นต้น หมายความว่า เมื่อยิ่งขยายการผลิตหรือขยายโรงงานก็ยิ่งจะทำให้ปริมาณมลพิษมากขึ้น

ชาวบ้านเริ่มใช้สิทธิทางกฎหมาย

เมื่อ การเรียกร้องของชาวบ้านไม่เป็นผล ประกอบกับไม่พึงพอใจในแผนปฏิบัติการลดมลพิษดังกล่าว ชาวบ้านในพื้นที่ที่อ้างตนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 27 คน ได้รวมตัวกันใช้สิทธิทางกฎหมายยื่นฟ้อง ต่อศาลปกครองระยองให้มีคำสั่งว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติละเลยการปฏิบัติหน้าที่จนก่อให้เกิดมลพิษ สร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชีวิตของคนในพื้นที่ พร้อมขอให้ประกาศพื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ

วันที่ 3 มีนาคม 2552 ศาลปกครองระยองได้พิจารณาเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง จึงได้มีคำสั่งให้พื้นที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดทั้งหมด รวมทั้งตำบลเนินพระ ตำบลมาบข่า และตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง เป็น "เขตควบคุมมลพิษ" นับเป็นชัยชนะครั้งแรกของชาวบ้านในการใช้สิทธิตามกรอบกฎหมาย

ท่าม กลางกระแสทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการประกาศเขตควบคุมมลพิษ ยุติลงด้วยมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติให้เดินหน้าประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นเขตควบคุมมลพิษภายใน 60 วัน (จากวันที่ 3 มีนาคม 2552) ตามคำพิพากษาของศาลปกครองระยอง

แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมจะยื่น อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่คณะกรรมการฯถูกศาลปกครองระยองวินิจฉัยว่า "ละเลยการปฏิบัติหน้าที่" โดยชี้แจงว่า ในช่วง ที่ผ่านมาคณะกรรมการ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ความสำคัญด้านการแก้ไขปัญหา จัดการมลพิษในพื้นที่มาบตาพุดมาโดยตลอด ดำเนินการไปตามกระบวนการของกฎหมาย ไม่ได้ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด

NGO รุกหนักเดินเกมต่อสู้ทางกฎหมาย

เมื่อ การใช้สิทธิทางกฎหมายเห็นผล จนชาวบ้านเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะขึ้น กลุ่มองค์การพัฒนาเอกชน (NGO) จึงเห็น ช่องทางในการฟ้องร้องทางกฎหมายเพื่อเอาผิดหน่วยงานภาครัฐ ในฐานะเป็นต้นเหตุให้พื้นที่มาบตาพุดเกิดมลพิษ สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ในวันที่ 19 มิถุนายน 2552 เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกที่นำโดยนายสุทธิ อัชฌาศัย 1 ใน 27 คน ที่เคยยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครองระยองได้ร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ ชมรมสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ, สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และสมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กล่าวหา 8 หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินการที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550

โดย 8 หน่วยงานที่ถูกฟ้องร้อง ได้แก่ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

สาเหตุของการฟ้องร้องเนื่องจากช่วง ที่ผ่านมาทั้ง 8 หน่วยงานได้ดำเนินการอนุมัติ/อนุญาตแก่กิจการในพื้นที่จังหวัดระยอง ที่เข้าข่ายมาตรา 67 โดยพิจารณาเห็นชอบแต่รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่ละเลยไม่พิจารณาเห็นชอบรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) และ การไม่เปิดรับฟังความเห็นจากองค์กรอิสระ ซึ่งไม่เป็นตามกฎหมาย ดังนั้นจึงขอให้ศาลปกครองพิจารณาเพิกถอนคำสั่งอนุมัติ/อนุญาตกับกิจการทั้ง หมดในจังหวัดระยองที่ได้มีการดำเนินการตั้งแต่ปี 2550 หลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ให้ระงับการดำเนินการ 76 โครงการในพื้นที่มาบตาพุด

จนวันที่ 29 กันยายน 2552 ศาลปกครองกลางจึงมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้ระงับการดำเนินการ 76 โครงการ ตามคำฟ้องของโจทก์ สร้างผลกระทบ ในวงกว้าง โดยเฉพาะเรื่องของการลงทุน นับเป็นชัยชนะครั้งที่สองของกลุ่ม NGO

แต่ หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งออกมา ทั้ง 8 หน่วยงานภาครัฐผู้ถูกฟ้องก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด จนล่าสุดวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ปรากฏศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองให้ระงับการดำเนินการ 76 โครงการ ในพื้นที่มาบตาพุดต่อไป "ยกเว้น" 11 โครงการที่ไม่เข้าข่ายเป็นกิจการรุนแรง ถือเป็นกิจการที่ช่วยลดมลพิษ

ดัง นั้นกรณีมาบตาพุดจึงนับเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรม แม้ที่สุดแล้วจะแก้ไขให้ทั้ง 65 โครงการ เดินต่อได้ แต่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเพราะ มาตรา 67 รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ใช่บังคับแค่โครงการในมาบตาพุดเท่านั้น แต่บังคับทั่วประเทศ เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพิงมูลค่าการลงทุนได้ในอนาคต บทเรียน การแก้ไขปัญหามาบตาพุดในครั้งนี้ ส่งผลให้รัฐบาลตระหนักและจะต้องนำไปกำหนดเป็นแผนพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศใน อนาคตต่อไป


หน้า 3
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02inv01311252&sectionid=0203&day=2009-12-31

--
twitter
mondayblog /senateblog
tuesdayblog/designblog
wednesdayblog/senateblog
thursdayblog/blog1951/sunnews9
fridayblog/9fridayblog
saturdayblog /kratongblog
sundayblog /chun1951
http://www.sahavicha.com
http://teetwo.blogspot.com/2008/04/1_28.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น