MusicPlaylistView Profile
Create a playlist at MixPod.com

วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ชุมทางน้ำใจ"พาเยี่ยมบ้านสงเคราะห์ฯ เด็กถูกทิ้ง-คนเร่ร่อนที่ต้องการกำลังใจ

วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6973 ข่าวสดรายวัน


"ชุมทางน้ำใจ"พาเยี่ยมบ้านสงเคราะห์ฯ เด็กถูกทิ้ง-คนเร่ร่อนที่ต้องการกำลังใจ





"ชุม ทางน้ำใจ"ขอร่วมสวัสดีปีใหม่กับทุกท่านๆ ที่ติดตามคอลัมน์นี้หลายครั้งที่นำเสนอหน่วยงานที่รับอุปการะเด็กหรือผู้สูง วัย คนพิการ ที่ถูกทอดทิ้งไม่ว่าจะเป็นสถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์,สถานสงเคราะห์ เด็กปัตตานี,สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด (บ้านนนทภูมิ),สถานสงเคราะห์ชายธัญบุรี ฯลฯ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เริ่มต้นศักราชในวันนี้ มารู้จักหน่วยงานเหล่านี้กันหน่อย กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค เพื่อรองรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งทั้งจงใจหรือไม่จงใจบางรายพ่อแม่ไม่สามารถ เลี้ยงดูลูก มาฝากไว้ก่อนจากนั้นก็หายไป มีตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 18 ปี

เริ่มจากสถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 17 ไร่เลขที่ 63/3 หมู่ 4 ต. ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีนางจิราพร เชาวน์ประยูร ยามาโมโต้ เป็นผู้ปกครอง ดูแลเด็กจำนวน 644 คน เผยว่ากำชับเจ้าหน้าที่ตลอดเวลาว่าการเลี้ยงดูเด็กต้องรู้สึกว่าเป็นพ่อแม่ เด็ก เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เด็กรู้ว่านี้คือบ้านของตนเอง

ส่วนการศึกษานั้นอย่างน้อยที่สุดคือระดับภาคบังคับให้เด็กได้เรียนหนังสือ กระจายไปตามโรงเรียนต่างๆ ภายในจังหวัด รายที่เรียนล่าช้าให้เรียนพิเศษ ที่ผ่านมาจบระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏ วิทยาลัยพลศึกษา รายไหนไปไม่ไหวทางวิชาการก็ให้เรียนสายอาชีพ ที่มีปัญหาทางด้านสมองเรียนหนังสือไม่ได้ให้เรียนรู้ เย็บปักถักร้อย ถักนิตติ้ง โครเชต์ เพื่อเป็นรายได้เสริม

"มีหลายคนออกไปแล้วกลับมาเยี่ยม ช่วยเหลือกิจกรรมดูแลน้องๆ ที่ยังเล็ก"

เด็กคนไหนมีพ่อแม่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำเราก็ให้ไปเยี่ยม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับพ่อแม่เป็นสายใยแห่งครอบครัว

"มีโครงการบุตรบุญธรรม รับเด็กไปเลี้ยงนอกสถานที่จะให้การสนับสนุนทางด้านค่าใช้จ่ายในการเรียน หนังสือตลอดจนให้ค่าตอบแทนรายละ 2,000 บาท ประเมินจนกว่าเด็กเรียนจบและช่วยเหลือตัวเองได้"

ทุกคนที่บ้านมีโอกาสสัมผัสสังคมภายนอกจะพาไปเที่ยว ซื้อของ ทานอาหารเมื่อถึงเทศกาลต่างๆโดยเฉพาะช่วง สิ้นปี -ปีใหม่ ทุกปี จัดกิจกรรมกันบริเวณลานสนามหญ้าภายในบ้านเวียงพิงค์ พากันมานั่งล้อมวงกันนำมันและข้าวหลามมาปิ้งกินอย่างเอร็ดอร่อย



มาที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี ตั้งอยู่เลขที่ 238 ถนนมิตรภาพอุดร-ขอนแก่น หมู่ 4 ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี ดูแลเด็กจาก 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีนางนงนุช สุขา ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ฯเผยว่าเป้าหมายของบ้านอุดรธานีนั้น มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สามารถพึ่งพาตนเองไม่เป็นภาระของสังคม



สำหรับเด็กแรกเกิดรับจากที่พ่อ-แม่ทอดทิ้ง บางครั้งรับมาจากโรงพยาบาลหรือที่สาธารณะ ทางกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะประกาศหาพ่อแม่ผ่านสื่อทุกชนิดจนครบ 1 เดือน ยังไม่มีใครมาแสดงเป็นพ่อแม่แล้ว ทางกรมจะประกาศงดการติดตามแล้วรับเด็กเข้าในสำเนาทะเบียนบ้านยกเลิกการ ติดตามผู้ปกครองเด็ก จะเลี้ยงเด็กตั้งแต่แรกเกิดถ้าเป็นหญิงก็จะเลี้ยงต่ออยู่ที่นี่ ส่วนเด็กชายนั้นเมื่ออายุ 7 ปีแล้วก็จะส่งไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์เด็กชายจังหวัดหนองคาย เมื่อเด็กอายุ 18 ปีแล้วอยากจะขอไปอยู่ข้างนอกก็ได้ แต่ไม่มีสิทธิที่จะกลับมาอยู่ได้อีก

ปัจจุบันดูแลเด็กรวมประมาณ 200 กว่าคนเล่าเรียนหนังสือทุกระดับ ไปเรียนจะมีรถรับส่งและมีเงินค่าอาหารให้ไปด้วย ทุกคนหลังเรียนจบแล้วเราก็จะหางานให้ทำอีกด้วย และถ้าทางหน่วยงานเรามีตำแหน่งก็จะให้เด็กสอบบรรจุเข้ามา

บางท่านมีความประสงค์จะนำเด็กไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมนั้น ยื่นเรื่องได้ที่ศูนย์บุตรบุญธรรมบ้านราชวิถี กรมพัฒนาฯ จะส่งประวัติและรูปถ่ายของเด็กส่งไปให้ทางกรม ไม่ว่าจะเป็นทั้งภายในหรือนอกประเทศ ส่วนขั้นตอนของการรับไปเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศต้องผ่านทูตของทั้ง 2 ประเทศด้วย

ทุกหอพักมีครูประจำหอพักหอละ 2 คน ส่วนหอพักเด็กเล็กจะมีครูประจำมากหน่อย

ส่วนด้านค่าการใช้จ่ายต่างๆ นอกจากได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว ก็ได้รับการบริจาคจากผู้ใจบุญ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อาหาร อุปกรณ์การเรียน และในวันหยุดหรือวันนักขัตฤกษ์ก็จะมีผู้ใจบุญมาเลี้ยงอาหารเด็กเป็นประจำ



ลงภาคใต้ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านศรีธรรมราช ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.เมือง นครศรีธรรมราช ก่อตั้งขึ้นเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรที่ประสบวาตภัยจากพายุโซนร้อนแฮเรียตที่ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ครั้งนั้นได้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยเฉพาะที่ แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง พระราชทานเงินโดยเสด็จพระราชกุศลจำนวน 910,000 บาทให้ เป็นทุนในการจัดตั้งสถานสงเคราะห์เด็กที่พ่อแม่เสียชีวิตจากเหตุการณ์วาตภัย เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2506 เช่าที่ดินวัดร้างของวัดพระเวียง เนื้อที่14ไร่ นางวิไล ปุณยเขมนันท์ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านศรีธรรมราช เปิดเผยว่าเด็กพ้นจากความอุปการะไปแล้วยังต้องติดตามผล เด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์นั้นจะเป็นเด็กชาย ส่วนเด็กหญิงนั้นจะมีเด็กแรกเกิดเมื่อโตก็จะส่งไปยังสถานสงเคราะห์ของเด็ก ผู้หญิง มีเด็กในความอุปการะทั้งหมด 220 คน



"เด็กที่ออกไปแล้วช่วยเหลือตัวเองได้ก็จะกลับมาเยี่ยมและดูแลน้อง อย่างเด็กคนหนึ่งจบปริญญาตรีทำงานและเรียนต่อจนจบปริญญาเอก เดือนเมษายนทุกปีจะมีการชักชวนเพื่อนที่มาจากสถานสงเคราะห์กลับมาเยี่ยมน้อง จัดกิจกรรมพูดคุยกับน้องให้น้องมีกำลังใจ มีเด็กคนหนึ่งถูกทิ้งอยู่หน้าร้านขายข้าวแกงหน้าร.พ.มหาราช แม่ค้านำเด็กมามอบให้ต่อมามีครอบครัวอุปการะเป็นชาวสวีเดน พอโตกลับมาเยี่ยมที่จบออกไปทำงานก็มีมากเป็นครู นักธุรกิจ ปลัดอำเภอ อยู่ที่3จังหวัดใต้"

ที่นี่มีทั้งเรื่องที่น่าดีใจและเสียใจหลายเรื่อง อย่างกรณีที่มีเด็กคนหนึ่งแม่เขาต้องโทษหลายสิบปี นำลูกมาไว้ที่นี่จนโตแม่พ้นโทษ มารับลูกกลับไปอยู่ ส่วนใหญ่เด็กถูกทิ้งแล้วมักจะไม่มีพ่อแม่มารับกลับน้อยมาก

เหตุการณ์ที่น่าสลดใจก็จะมีอย่างเด็กคนหนึ่งมีความพิการซ้ำซ้อนและแม่ทำ งานอยู่ในคาราโอเกะจ้างยายแก่ๆ ข้างบ้านมาเลี้ยงลูกวันหนึ่งแม่ตกงานแม่ก็นำเด็กมาทิ้งไว้ที่นี่ หนีไปอยู่อีสานบ้านเกิด ยายคนที่เลี้ยงเด็กติดตามเด็กมาที่นี่และขอรับเด็กไปเลี้ยงดูเพราะรักทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีรายได้ช่วยสนับสนุนในเรื่องการเลี้ยงดูและติดตามผลตลอด

ทุกวันศุกร์จะมีโครงการแสงธรรมแห่งปัญญาโดยมีพระมาเสวนาธรรมกับเด็กๆ หรือโครงการทำดีมีรางวัล ในแต่ละเดือนก็จะมีการทำบุญวันเกิดให้แต่ละคนที่เกิดในเดือนเดียวกัน

"การเลี้ยงดูเด็กเหล่านี้ หากเปรียบเทียบเด็กในอดีตกับเด็กในปัจจุบันนั้นจะพบว่าเด็กในอดีตรุ่นเก่าๆ จะประสบความสำเร็จมากกว่าเด็กปัจจุบัน เด็กปัจจุบันมักจะมีปัญหาซับซ้อนมาก" นางวิไลกล่าวในที่สุด



มาที่จ.ปทุมธานี สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จ.ปทุมธานีที่ดูแลผู้ที่ไร้ที่พึ่งไม่ว่าจะเป็นขอทาน เร่ร่อน ที่เจ้าหน้าที่นำส่งและบุคคลไร้ญาติขาดที่พึ่ง สมัครเข้ารับการสงเคราะห์ อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีนางชีวาพร คุ้มจอหอ เป็นผู้ปกครอง มีผู้รับการสงเคราะห์ฯจำนวน 550 คน

นางภัทรมน สุจิณณานนท์ พยาบาลเทคนิคชำนาญงาน หัวหน้าฝ่ายบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งชายธัญ บุรี เปิดเผยว่าจุดประสงค์ของสถานสงเคราะห์แห่งนี้ต้องการให้ผู้ที่เข้ามาสามารถ กลับไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและสังคมภายนอกได้อย่างปกติสุข

ผู้รับการสงเคราะห์ที่เข้ามามีเลข 13 หลักก็จะให้สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่นทำบัตรทองเพื่อให้สิทธิการรักษาพยาบาล แต่ถ้าเขาไม่มีก็ต้องไปคัดสำเนาทะเบียนราษฎร์เพื่อจะได้ทราบข้อมูลคัดภาพใบ หน้าของผู้รับการสงเคราะห์ สิ่งแรกที่ต้องดูแลเขาก็คือเรื่องปัจจัย 4 มีนักสังคมสงเคราะห์ มีพยาบาล มีครูฝึกร่วมกันดูว่าผู้รับการสงเคราะห์จะมีพัฒนาการไปทางใดบ้าง จัดแบ่งออกเป็นเกรด เอ บี และซี

กลุ่มเอก็จะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองได้ นำไปฝึกอาชีพทั้งซ่อมบำรุง เกษตร บีนั้นก็จะช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ส่วนซีนั้นไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย การแบ่งกลุ่มก็เพื่อที่จะให้ง่ายต่อการดูแลและหากิจกรรมให้ทำ

ประเภทขอทานหลังจากที่ได้เข้ารับการสงเคราะห์ฟื้นฟูแล้ว ถ้าจะมีการขอออกไปจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เท่านั้นต้องตรวจสอบอีกว่าเมื่อออกไปแล้วมีแหล่งพักพิงที่แน่นอนหรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะติดตามเพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเขาจะไปขอทานอีกหรือไม่ แต่ถ้าประเภทคนเร่ร่อนเมื่อเข้ารับการสงเคราะห์ครบ 1 เดือนแล้ว เขาต้องการออกไปจากที่นี่ ไม่มีสิทธิที่กักกันไว้

บางที่คนเร่ร่อนเหล่านี้เมื่อออกไปแล้วก็จะส่งข่าวเข้ามาว่าเขามีงานทำเป็น หลักแหล่งแล้ว ส่วนใหญ่ 70-80 % สาเหตุมาจากการดื่มสุราและอาการทางจิตที่ทางตำรวจนำส่งเข้ามา มีส่วนน้อยที่ทางญาติจะมาขอรับตัวกลับไป

"บางคนก็เข้ามาเป็นสิบรอบ เขาก็ยอมรับว่าเขาควบคุมตนเองไม่ได้เขาก็ต้องไปซื้อเหล้าดื่มอีก แต่กลุ่มคนที่ช่วยตนเองได้และทำงานได้ จะหางานให้ทำเพื่อเป็นรายได้มีรับงานหลักประเภทจัดสวนให้กับบ้านธัญญาพร บ้านเด็กอ่อน "


หน้า 28
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2NtOHdNVEF4TURFMU13PT0=&sectionid=TURNeE13PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB3TVE9PQ==

--
twitter
mondayblog /senateblog
tuesdayblog/designblog
wednesdayblog/senateblog
thursdayblog/blog1951/sunnews9
fridayblog/9fridayblog
saturdayblog /kratongblog
sundayblog /chun1951
http://www.sahavicha.com
http://teetwo.blogspot.com/2008/04/1_28.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น